เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
[414] สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยอธิปติ-
ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล
รักษาอุโบสถ ยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำ
ความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึง
เกิดขึ้น บุคคลยินดีเพลิดเพลินกุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้วให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น บุคคลออกจากฌานแล้วยินดีเพลิดเพลินฌานให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินฌานนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอรหันต์ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยอธิปติปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นกุศล
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (4)
[415] สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดย
อธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินราคะให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
แน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ
จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น ยินดีเพลิดเพลินทิฏฐิให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินทิฏฐินั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :262 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย
อธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอกุศล
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
[416] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต
โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอรหันต์พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่ผลโดยอธิปติ-
ปัจจัย
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากต-
กิริยาเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกุศลโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระเสขะพิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่
โคตรภู โวทาน และมรรคโดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยอธิปติปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น ยินดี เพลิดเพลินโสตะ ... ฆานะ ...
ชิวหา ... กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ
... ขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบากและที่เป็นอัพยากตกิริยาให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินโสตะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ
จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :263 }